สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง
สาเหตุของสโตรก

ที่มาของอาการอาจมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วย หรือสภาพแวดล้อมโดยรอบ ไปดูกันค่ะว่าสาเหตุหลักๆ มีอะไรบ้าง

  • มีโรคประจำตัว เช่น ไขมัน ความดัน โรคจากกรรมพันธุ์
  • ปัจจัยภายนอกมากระตุ้นร่วมกับโรคประจำตัวเดิมที่เป็นอยู่ ประกอบกับมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม
  • การใช้ชีวิตที่ตึงเครียดเกินไปจนขาดสมดุล

อาการสโตรกเป็นอย่างไร

อาการสโตรก

ลูกหลานหรือผู้ดูแลใกล้ชิดสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้

  • ยิ้มเห็นฟันแล้วมุมปากทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน
  • ยกแขนเหนือศีรษะพร้อมกันทั้งสองข้าง แล้วมีข้างใดข้างนึงอ่อนแรง หรือยกได้ไม่เท่ากับอีกข้าง
  • พูดไม่ชัด ตอบคำถามง่ายๆ ไม่ได้ ให้สังเกตน้ำเสียงขณะตอบด้วยว่าผิดปกติหรือเปล่า
  • หากมีอาการทั้ง 3 ข้อ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ควรรีบพาท่านไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะอาจมีภาวะสโตรกแฝงอยู่

เตรียมตัวอย่างไร หากคนในครอบครัวเป็นสโตรก

เตรียมตัวอย่างไร เมื่อเป็นสโตรก

ทำความเข้าใจว่ามันคือโรคที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองผิดปกติ

อาจมีอาการตีบ แตก หรืออุดตัน ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่เพียงพอ เกิดอาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาตตามมาได้

รีบนำส่งโรงพยาบาล

เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากในการรักษา ต้องได้รับการดูแลจากคุณหมอหรือโรงพยาบาลที่มีความพร้อมมากที่สุด เพราะจะช่วยให้อาการผู้ป่วยไม่รุนแรงมาก เพราะฉะนั้นท่องไว้ค่ะ ยิ่งนำส่งโรงพยาบาลเร็วเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น โดยเฉลี่ยระยะเวลาที่ผู้ป่วยฟื้นฟูในโรงพยาบาลจะอยู่ในช่วงประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ค่ะ

Tips: เพื่อการเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด ควรมีเบอร์โรงพยาบาลใกล้บ้าน และควรศึกษาความพร้อมให้เรียบร้อย ทั้งความชำนาญของทีมบุคลากรการแพทย์ รวมถึงอุปกรณ์ในการรักษาต่างๆ วันเกิดเหตุหากคิดอะไรไม่ออกให้กด 1669 ซึ่งเป็นเบอร์สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติให้มารับได้เลยค่ะ

ดูแลและฟื้นฟูต่อที่บ้าน

ตามรอยโรคและระดับความรุนแรงของผู้ป่วยว่าเป็นมากหรือน้อย อาการที่พบส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น

  • มีอาการไม่มาก ยังช่วยเหลือตัวเองได้
  • ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ การเคี้ยวและกลืนอาหารมีปัญหาในช่วงแรกที่ออกจากโรงพยาบาล
  • กลุ่มอาการหนัก พบได้กรณีเส้นเลือดในสมองแตก อายุเยอะ และมีโรคอื่นแทรกซ้อน

คลายกังวลด้วยกรอบแนวคิด 5W1H รักษาผู้ป่วยสโตรก

What

ต้องเข้าใจสโตรกอย่างลึกซึ้ง ทั้งอาการของโรค รวมถึงตัวผู้ป่วยด้วยว่าท่านมีโรคประจำตัว หรือโรคร้ายแรงหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการรักษา

Who

  • ใครเป็นผู้ดูแล มีความรู้มากน้อยแค่ไหน กำลังใจดีแค่ไหน พร้อมมั้ยที่จะอยู่เคียงข้างผู้ป่วยตลอดการรักษา
  • ใครในครอบครัวที่เป็นผู้จ่ายค่ารักษา
  • จ้างใครดูแลดี หากคนในครอบครัวไม่พร้อม

Where

รักษาผู้ป่วยที่ไหนดี บ้านหรือศูนย์ดูแลสะดวกกว่ากัน

When

  • ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลได้เมื่อไหร่
  • ญาติและผู้ดูแลมีเวลาเตรียมตัวหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
  • แนะนำให้ดูแลและฟื้นฟูภายในระยะเวลา 3 – 6 เดือน (Golden Period) ให้เต็มที่ที่สุด หากเลยช่วงนี้ การรักษาอาจชะลอตัวลงได้ ทำให้ผู้ป่วยหายช้าลง

Why

  • เข้าใจเหตุผลในการดูแลผู้ป่วยแต่ละขั้นตอนอย่างลึกซึ้ง เพราะทุกขั้นตอนมีเหตุผลเดียวคือต้องการให้ผู้ป่วยหายไวที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • พยายามเลี่ยงที่จะพูดคำว่า “อดทน” เพราะอาจลดทอนกำลังใจของผู้ป่วยและผู้ดูแลได้ ให้คิดว่าการรักษาไม่ใช่การอดทน แต่คือการตั้งเป้าหมายร่วมกันของผู้ป่วยและผู้ดูแล

How

ดูแลด้วยใจได้ แต่ต้องรู้หลักในการดูแลด้วย ว่าสิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำ เช่น ต้องติดตามและประเมินผลอย่างไร ผู้ดูแลทำเต็มที่หรือยัง

สรุป

วิธีดูแลผู้ป่วยสโตรก

ผู้ป่วยสโตรกจะหายเป็นปกติหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก นั่นคือ ความเสียหายของสมองในวันที่เกิดเหตุ อีกหนึ่งปัจจัยคือการดูแลรักษาหลังออกจากโรงพยาบาล ในปัจจุบันเทคโนโลยีในการรักษาผู้ป่วยสโตรกก้าวหน้าไปมาก ในฐานะลูกหลานควรศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด เพราะเมื่อเกิดเหตุคาดไม่ถึงกับคนที่เรารัก จะได้เตรียมพร้อมและวางแผนการรักษาได้ทันท่วงที

ด้วยความห่วงใยจาก Chivit-D by SCG


อ้างอิง
nhlbi.nih.gov/health/stroke
cdc.gov/stroke/risk_factors
sarirarak.com/single-post/stroke-cure
samitivejhospitals.com/th/article