หลายท่านกำลังสนใจเรื่องการใช้รังสี UVC เพื่อฆ่าเชื้อบนสิ่งของต่างๆ แต่อาจมีข้อสงสัยเรื่องการใช้งาน ประสิทธิภาพ รวมถึงผลกระทบที่ตามมาจากการใช้งาน

“รังสี UVC” คืออะไร? ฆ่าเชื้อโรคได้จริงไหม?

รังสี uvc

รังสี UVC เป็นรังสีอัลตราไวโอเลตประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความยาวคลื่นสั้น 100 – 280 นาโนเมตร และให้พลังงานมากที่สุด ซึ่งหากใช้แสง UVC ในช่วงความยาวคลื่น 200 ถึง 313 นาโนเมตร จะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคสูงถึง 99.99% โดยสามารถกำจัดได้ทั้งเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ยีสต์ เห็ด และรา ซึ่งรวมถึงเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย โดยค่าความยาวคลื่นของแสง UVC ที่สามารถฆ่าเชื้อได้ดีที่สุดจะอยู่ที่ 260 นาโนเมตร

ทำไม “หลอดไฟ UVC” จึงฆ่าเชื้อโรคได้?

รังสี uvc

จากประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรคของรังสี UVC ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นหลอดไฟสังเคราะห์ ที่สามารถฉายแสง UVC ได้ คือ “หลอดไฟ UVC” หรือรู้จักกันในชื่อ “หลอดไฟสีฟ้า” เพื่อใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศและบนพื้นผิววัตถุต่างๆ ด้วยกระบวนการฆ่าเชื้อที่เรียกว่า “UVGI” (Ultraviolet Germicidal Irradiation) ซึ่งพลังงานของรังสีนี้จะเข้าไปทำลายถึงระดับ DNA และ RNA ของเชื้อโรค ทำให้เชื้อไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ และตายในที่สุด

ปัจจัยในการฆ่าเชื้อ ของรังสี UVC

รังสี uvc

ความเข้มและความยาวคลื่นของรังสี

ควรเลือกรังสีที่มีความยาวคลื่น 200 – 313 นาโนเมตร จะสามารถฆ่าเชื้อในอากาศหรือพื้นผิวได้

ระยะเวลา

เนื่องจากเชื้อโรคแต่ละชนิดจะมีความทนต่อรังสี UVC แตกต่างกัน ทำให้ระยะเวลาในการฉายแสงเพื่อฆ่าเชื้อต่างๆ จึงต่างกันด้วย

ระยะห่างของแหล่งกำเนิดแสง

หากสิ่งของอยู่ในระยะใกล้กับรังสี จะสามารถฆ่าเชื้อได้ดียิ่งขึ้น

พื้นที่โล่ง หรือไม่วางสิ่งของซ้อนทับกัน

เพราะแสง UVC เดินทางเป็นเส้นตรง และจะไปกระทบวัตถุได้ดี ทำให้การฆ่าเชื้อจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความแรงของวัตต์ที่เหมาะสม

ตามขนาดพื้นที่ที่ต้องการฆ่าเชื้อ

รังสี UVC อันตรายต่อคนไหม?

UVC คืออะไร

รังสี UVC มีอันตรายต่อผิวหนังและกระจกตาของคน เพราะสามารถปลดปล่อยพลังงานทำลายล้างสูง

  • อันตรายต่อผิวหนัง แสง UVC อาจทำให้ผิวหนังไหม้และเกิดมะเร็งผิวหนังได้
  • อันตรายต่อตา หากจ้องมองรังสี UVCโดยตรง อาจทำให้กระจกตาอักเสบ แสบตา หรือเป็นต้อกระจก หากสัมผัสรังสีในระยะยาว
  • อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ หากแสง UVC ที่มีความยาวคลื่นต่ำกว่า 240 นาโนเมตร เจอออกซิเจนในอากาศจะทำให้เกิดก๊าซโอโซน (O3) ซึ่งเป็นก๊าซพิษออกมาได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังไม่ให้มีคนหรือสิ่งมีชีวิตอยู่ภายในห้องปิดดังกล่าว

สรุป

รังสี UVC เป็นรังสีที่มีทั้งประโยชน์ และสามารถก่อโทษต่อร่างกายได้ เพราะรังสี UVC มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคได้สูงถึง 99.99% เหมาะสำหรับการฆ่าเชื้อสิ่งของต่างๆ โดยไม่ทำลายพื้นผิววัสดุ แต่หากใช้งานรังสี UVC ไม่ถูกวิธี ก็จะเกิดอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งเราสามารถป้องกันอันตรายจากรังสี UVC ได้ โดยศึกษาวิธีการใช้งานของเครื่องฆ่าเชื้อ UVC ให้เข้าใจก่อนใช้งาน และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับรังสีโดนตรง