รองช้ำ คือ การที่ผิวหนังถูกกดทับหรือเสียดสีจากรองเท้าเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดอาการบวม แดง เป็นแผลพุพอง หรือตุ่มน้ำใสขึ้นบริเวณนั้น มักจะเกิดตามส้นเท้า ข้างนิ้วเท้า หรือหลังเท้า ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด ไม่สบายเท้า และอาจติดเชื้อเป็นหนองได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

สาเหตุของรองช้ำ

รองช้ำ สาเหตุ

รองช้ำเกิดขึ้นเมื่อมีการกดดันหรือการเสียดสีที่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการบวมแดง และอาจมีการสะสมของน้ำหรือเลือดใต้ผิวหนัง

  • รองเท้าไม่พอดีกับขนาดเท้า ทั้งคับหรือหลวมเกินไป
  • ใส่รองเท้าที่ทำจากวัสดุแข็ง ไม่ยืดหยุ่น
  • มีความผิดปกติของเท้า เช่น นิ้วชี้ยาวกว่านิ้วหัวแม่เท้า หรือมีกระดูกยื่นผิดปกติ
  • ยืน เดิน หรือทำกิจกรรมเป็นเวลานานๆ
  • เกิดจากการเสียดสีหรือกดทับผิวหนังบริเวณนั้นเป็นเวลานาน

อาการของรองช้ำ

รองช้ำ อาการ

แบ่งเป็นหลายระดับอาการ ขึ้นอยู่กับการอักเสบ และความรุนแรงที่เกิดขึ้น

  • ผิวหนังที่โดนรองเท้ากดทับเป็นรอยแดง บวม หรือพุพอง
  • เกิดอาการปวด แสบร้อน เวลาเดิน หรือสัมผัสโดน
  • หากเป็นมากหรือติดเชื้อ อาจมีอาการบวมแดง มีหนอง และมีไข้ได้

วิธีรักษารองช้ำ

รองช้ำ รักษา

การรักษารองช้ำมุ่งเน้นที่การลดอาการบวมและเจ็บปวด นี่คือวิธีการรักษาที่ได้ผล มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

  • ใช้ยาทาแก้ปวด บรรเทาอาการอักเสบ เช่น ยาทามีส่วนผสมของ Diclofenac, Ibuprofen
  • ทายาฆ่าเชื้อ เช่น Povidone-Iodine เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ประคบด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำเย็น เพื่อลดอาการปวด บวม
  • หากมีตุ่มพุพองหรือเป็นแผล ห้ามแกะหรือเจาะ ให้ทิ้งไว้ให้แห้งและหลุดออกไปเอง
  • หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการติดเชื้อ ควรไปพบแพทย์

วิธีป้องกันรองช้ำ

รองช้ำ ป้องกัน

การป้องกันเป็นกุญแจสำคัญในการหลีกเลี่ยงรองช้ำ สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

  • เลือกรองเท้าที่มีขนาดพอดีกับเท้า ทำจากวัสดุนิ่มและยืดหยุ่น
  • เปลี่ยนรองเท้าเป็นระยะ ไม่ควรใส่คู่เดิมติดต่อกันหลายวัน
  • ใส่ถุงเท้าที่แห้งและสะอาด ไม่ควรเดินเท้าเปล่าในรองเท้า
  • ดูแลเท้าให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า
  • หากมีโรคประจำตัวเช่นเบาหวาน ควรเช็คเท้าเป็นประจำ เนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย

สรุป

เมื่อทำความเข้าใจสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของรองช้ำแล้ว การเลือกรองเท้าสุขภาพที่เหมาะสม ใส่ใจดูแลสุขภาพเท้า และรักษาอย่างถูกวิธีตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะช่วยบรรเทาและป้องกันปัญหารองช้ำได้เป็นอย่างดี แต่หากมีอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ด้วยความห่วงใยจาก ชีวิตดี บาย เอสซีจี


อ้างอิง
aad.org/public/everyday-care/injured-skin/burns/prevent-treat-blisters
clevelandclinic.org/health/diseases/17617-blisters
health.harvard.edu/staying-healthy/friction-blisters
nhs.uk/conditions/blisters