อาการนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด

ลักษณะของอาการนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด คือการมีความคิดพลุ่งพล่านอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อพยายามนอนหลับหรือในตอนกลางคืน โดยความคิดเหล่านี้อาจมีเนื้อหาแตกต่างกันไป แต่มักจะสัมพันธ์กับความกังวลและความเครียด

สาเหตุของการนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด

สาเหตุ นอนไม่หลับ สมองหยุดคิดไม่ได้

ความเครียดและความวิตกกังวล

ความเครียดและความวิตกกังวล เช่น ความกังวลเกี่ยวกับอนาคต งาน ความสัมพันธ์ ฯลฯ ในระดับสูงอาจทำให้จิตใจรู้สึกกระวนกระวาย สมองตื่นตัวตลอดเวลา แม้ในช่วงเวลาที่ควรเข้านอนก็ยังคิดวนไปเวียนมา จึงส่งผลให้นอนหลับได้ยากขึ้น

คาเฟอีนหรือสารกระตุ้น

การบริโภคคาเฟอีนหรือสารกระตุ้นอื่นๆ โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนเข้านอน จะส่งผลให้ร่างกายตื่นตัว สมองไม่หยุดคิด กระวนกระวายจนนอนไม่หลับในที่สุด

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

การอยู่กับหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ จะลดความสามารถในการผลิตเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการนอนหลับได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาในการนอนหลับและความคิดฟุ้งซ่าน

สภาวะทางการแพทย์หรือจิตวิทยา

สภาวะต่างๆ เช่น โรควิตกกังวล ซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ หรือโรคสมาธิสั้น (ADHD) อาจส่งผลให้สมองไม่สามารถหยุดคิดเรื่องต่างๆ ระหว่างการนอนหลับได้

ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม

สภาพแวดล้อมการนอนหลับเหมาะสม เช่น มีเสียงรบกวนที่มากเกินไป เครื่องนอนไม่สบาย ห้องนอนเต็มไปด้วยฝุ่นและเชื้อโรค มีกลิ่นอับ หรืออุณหภูมิสูงเกินไป อาจส่งผลต่อการนอนหลับได้โดยตรง

ขาดเทคนิคช่วยให้สมองผ่อนคลาย

เช่น การฝึกสงบจิตใจก่อนนอนเพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย สมองปลอดโปร่ง พร้อมที่จะเข้านอนในแต่ละคืน

วิธีแก้อาการนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด

วิธีแก้ อาการนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด

ฝึกการผ่อนคลาย

ออกกำลังกายเบาๆ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายก่อนนอน เช่น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การหายใจลึกๆ หรือการทำสมาธิเพื่อทำให้จิตใจสงบ ฯลฯ

สร้างกิจวัตรการเข้านอน

สร้างกิจวัตรการเข้านอนที่สอดคล้องกัน ซึ่งจะเป็นการส่งสัญญาณไปยังร่างกายว่าถึงเวลาพักผ่อนแล้ว เช่น การอ่านหนังสือ การยืดกล้ามเนื้อเบาๆ การอาบน้ำอุ่น การจุดเทียนหอมอโรม่า ฯลฯ

จัดการความเครียด

หาวิธีการจัดการความเครียดและความวิตกกังวลที่เหมาะสมกับตนเอง เช่น การเขียนบันทึก การพูดคุยกับนักบำบัด การฝึกสมาธิ ฯลฯ

จำกัดเวลาอยู่หน้าจอ

หลีกเลี่ยงหน้าจอโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และ โทรทัศน์ อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงก่อนเข้านอนเพื่อส่งเสริมการผลิตเมลาโทนิน

ใช้อุปกรณ์ช่วย

เช่น อุปกรณ์ผลิตคลื่นเสียงที่ช่วยให้นอนหลับ เพื่อเหนี่ยวนำคลื่นสมองให้อยู่ในระดับเดลต้า จะช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนให้ดีขึ้น และลดอาการนอนไม่หลับได้

สรุป

อาการนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิดในตอนกลางคืนอาจสามารถเกิดได้กับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีความเครียดหรือวิตกกังวล อย่างไรก็ตาม เราสามารถแก้อาการเหล่านี้ได้โดยวิธีง่ายๆ ตามที่กล่าวไปข้างต้น แต่หากอาการเหล่านี้กลายเป็นอาการเรื้อรัง ขอแนะนำให้พบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อประเมินอาการและแนะนำการรักษาที่เหมาะสม เพื่อจัดการอาการเหล่านี้ ปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ และสุขภาพที่ดีของทุกคน

ด้วยความห่วงใยจาก Chivit-D by SCG


อ้างอิง
medparkhospital.com/disease-and-treatment/insomnia
paolohospital.com/th-TH/center/Article
healthline.com/health/healthy-sleep/sleep-apnea-anอาการนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิดเป็น เป็นปัญหาที่หลายคนต้องเผชิญ บทความนี้จะพาทุกท่านมาสำรวจอาการนอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด พร้อมทั้งบอกวิธีแก้ที่สามารถทำได้ง่ายๆ ให้ทุกคนได้นำไปปรับใช้กันค่ะd-depression