การดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี คือสิ่งที่ลูกหลานและคนในครอบครัวต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ซึ่งจะดูแลท่านให้ดีสิ่งแรกที่ต้องมีคือความเข้าใจทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ มาเรียนรู้ไปพร้อมกันค่ะ

ดูแลผู้สูงอายุ เริ่มต้นอย่างไรดี

ดูแลผู้สูงอายุ เริ่มต้นอย่างไร

รู้จักการแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ

หากเราแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุตามสมรรถภาพภายในร่างกาย (Intrinsic Capacity) ตามแนวทางบูรณาการการดูแลผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • ติดสังคม สมรรถภาพร่างกายสูงและคงที่  
  • ติดบ้าน สมรรถภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอย แต่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง
  • ติดเตียง สูญเสียสมรรถภาพร่างกายเป็นอย่างมาก ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในการทำกิจวัตรประจำวัน

เข้าใจกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ

  • กิจวัตรขั้นพื้นฐาน คือกิจกรรมที่ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยไม่พึ่งพาผู้ดูแล ทั้งกิจกรรมในบ้านและนอกบ้าน เช่น ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ เก็บที่นอน ใส่รองเท้า หรือแต่งตัวเองได้ 
  • กิจวัตรแบบแข็งแรง คือกิจกรรมที่มีการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ช่วยทำงานได้ เช่น ทำอาหาร ทำความสะอาดบ้าน เดินช้อปปิ้ง เซ็นเอกสารสำคัญ พูดคุย รวมถึงขับรถได้  

ปัญหาที่พบบ่อย พร้อมแนวทางในการดูแล

ปัญหาที่พบบ่อย ในการดูแลผู้สูงอายุ

  • ภาวะกลืนลำบาก เกิดจากความผิดปกติของช่องปากและลำคอ อาจมีสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดสมอง โรคทางระบบประสาท โรคจิตเวช รวมถึงโรคพาร์กินสันที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็ง ทำให้กลืนอาหารลำบาก
  • ภาวะติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อที่ปอด ทางเดินปัสสาวะ หรือจากแผลกดทับ แนะนำให้หาเบาะรองนั่งป้องกันแผลกดทับมาใช้ เพื่อลดระดับความรุนแรงของแผล ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • เคลื่อนไหวลำบาก อาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น อาการปวดหลัง เอว สะโพก เข่า ขา หรือมีภาวะกล้ามเนื้อน้อย กล้ามเนื้ออ่อนแอร่วมด้วย ส่งผลให้ทรงตัวไม่ดี ลองหาเบาะรองนั่งหรืออุปกรณ์ช่วยปรับสรีระมาใช้ ท่านจะได้นั่งสบายและลดอาการปวดหลังลง
  • ท้องผูก สาเหตุหลักๆ มาจากพฤติกรรมการทานอาหารจำพวกกายใยน้อยเกินไป ชอบกลั้นถ่ายบ่อยๆ จนติดเป็นนิสัย รวมถึงอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขอนามัย ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น หรือคราบสกปรกหมักหมม
  • เสี่ยงหกล้ม เกิดจากการทรงตัวไม่ดี แขนขาอ่อนแรง ประสบกับภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือมีภาวะสมองสั่งการช้า สภาพแวดล้อมในบ้านไม่ดี เช่น แสงไม่เพียงพอ พรมลื่น พื้นไม่เรียบเสมอกัน ลองหาอุปกรณ์แจ้งเตือนป้องกันการหกล้ม มาติดตั้งไว้ที่บ้าน ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการลดความเสี่ยง และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้   
  • นอนไม่หลับ เกิดจากการเสื่อมถอยตามวัยของสมอง ทำให้หลับยากขึ้น นอนน้อยลง ตื่นกลางดึกบ่อย หนักสุดอาจส่งผลทำให้เกิดโรคซึมเศร้า และภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับตามมาได้

โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

โรคที่พบบ่อย ในผู้สูงอายุ

  • โรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก การตรวจเช็คสุขภาพท่านด้วยอุปกรณ์ตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ค่ะ   
  • โรคพาร์กินสัน เกิดจากเซลล์สมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวเสื่อมสลายลง
  • โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากผิวกระดูกอ่อน หรือเสื่อมสภาพตามวัย พบในเพศหญิงมากกว่าชาย 2 – 3 เท่า นอกจากนี้ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่ชอบนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่าเป็นเวลานาน อาจมีความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย
  • ภาวะซึมเศร้า เป็นอาการเจ็บป่วยทางจิตใจ ผู้ป่วยอาจประสบกับความสูญเสีย ความผิดหวัง พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง หากผู้สูงอายุที่บ้านประสบกับภาวะซึมเศร้า ลูกหลานหรือผู้ดูแลใกล้ชิดควรรีบช่วยเหลือและรักษาโดยเร็ว เพราะหากละเลยอาจส่งผลให้อาการแย่ลง จนประสาทหลอน และอาจฆ่าตัวตายได้ 
  • ภาวะสมองเสื่อม เกิดจากสมองทำงานเสื่อมถอยลง ทำให้มีปัญหาเรื่องความจำ กระบวนการคิด พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงการแสดงออกทางอารมณ์ที่เปลี่ยนไป

ภาวะเหนื่อยล้าในการดูแลผู้สูงอายุ

หมั่นตรวจเช็คอาการ

สำหรับลูกหลานและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ลองสำรวจอาการเหล่านี้อยู่บ่อยๆ นะคะ เพื่อประเมินตัวเองว่ามีความเสี่ยงในการเกิดภาวะเหนื่อยล้ามากน้อยแค่ไหน

  • เครียด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเรื้อรัง
  • นอนไม่หลับ นอนไม่พอ ทานอาหารได้น้อยลง
  • รู้สึกเหมือนกำลังแบกโลกทั้งใบไว้คนเดียว
  • ไม่สามารถจัดการกิจวัตรประจำวันได้อย่างราบรื่น มีปัญหาเข้ามาก็รู้สึกวุ่นวายสับสนไปหมด
  • ไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่างๆ หลงลืมง่าย หงุดหงุดกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ
  • ไม่มีเวลาออกไปข้างนอก พูดคุย หรือพบปะกับผู้คน

แนวทางรับมือในการดูแลผู้สูงอายุ

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ อาจลองเลือกไอเทมช่วยนอนดีติดไว้ในห้องนอน
  • หาเวลาว่างไปเที่ยวหรือพักผ่อนบ้าง ลองจ้างผู้ดูแลหรือใช้บริการศูนย์ดูแลที่มีมาตรฐาน ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านค่ะ
  • ชวนผู้สูงอายุทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียด เช่น อ่านหนังสือเล่มโปรด ดูหนัง ฟังเพลง หรือออกไปเที่ยวด้วยกันนอกบ้านบ้าง หากท่านเดินไม่สะดวกลองเลือกรถเข็นนั่งหรือรถเข็นช่วยเดิน หรือไม้เท้าคำยันให้ท่านใช้ ท่านจะได้นั่งสบายหรือเดินเที่ยวกับเราได้อย่างสนุกสนานค่ะ

แนวทางดูแลตัวเองของผู้ดูแล

  • ออกกำลังกาย และทานอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กล้ามเนื้อผ่อนคลายจากการใช้ร่างกายดูแลผู้สูงอายุ หากยุ่งหรือไม่มีเวลาจริงๆ อาจลองหาตัวช่วย เช่น ดัมเบล จักรยานปั่นเท้า หรืออุปกรณ์ยืดเหยียดง่ายๆ มาใช้ก็ช่วยได้นะคะ
  • ดูแลสภาพจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ 
  • เข้าสังคม พบปะผู้คนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่พบเจอ ช่วยให้ผู้ดูแลได้ระบายความรู้สึกที่อยู่ในใจมากขึ้น นอกจากนี้การทำกิจกรรมที่ชอบบ่อยๆ ก็ช่วยได้เช่นกันค่ะ 

สรุป

สรุปการดูแลผู้สูงอายุ

การดูแลผู้สูงอายุเริ่มจากการเปิดใจรับฟังโดยไม่ตัดสิน เข้าใจความต้องการของท่านอย่างถ่องแท้ รวมถึงดูแลสุขภาพของตัวเองให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้การเลือกสินค้าดูแลผู้สูงอายุที่มีคุณภาพติดไว้ที่บ้าน สามารถช่วยดูแล ป้องกัน และลดความเสี่ยงให้กับคนที่เรารักได้เช่นกัน ชีวิตดี บาย เอสซีจีขอเป็นกำลังใจให้ทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลทุกท่านเลยนะคะ

ด้วยความห่วงใยจาก Chivit-D by SCG


อ้างอิง
who.int/southeastasia/health-topics/environmental-health
samitivejhospitals.com/th/article
dop.go.th/th/know
paolohospital.com/th-TH/center/Article